Tag Archives: พัดลมอุตสาหกรรม

การอนุรักษ์พลังงานโครงการใช้พัดลม

(1.1) เมื่อปริมาณลมที่ต้องการลดลงและมีการเปลี่ยนแปลงน้อย

หากวางแผนเผื่อไว้มากไปและต้องการลดปริมาณลมเนื่องจากการลดกำลังการผลิต หากใช้วิธีปรับด้วยแดมเปอร์ขาออกจะทำให้การเดินเครื่องมีกำลังขับสูญเสียสูง วิธีการแก้ไขในกรณีนี้ คือ ลดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของใบพัดเปลี่ยนไปใช้ใบพัดที่มีขนากเล็กลง ลดจำนวนชั้นของโบลเวอร์แบบหลายชั้น ปรับมุมใบพัดของพัดลมแบบ axial flow

(1.2) เมื่อปริมาณลมที่ต้องการมีการเปลี่ยนแปลง

– หรี่แดมเปอร์ขาออก (กำลังขับจะเลื่อนไปตามเส้นกราฟกำลังขับเพลาเท่านั้น)

– การควบคุม vane ขาเข้า (ความสิ้นเปลืองกำลังขับจะต่ำกว่าการควบคุมแดมเปอร์)

– ควบคุมจำนวนเครื่อง (กรณีที่เดินเครื่องพัดลมขนานกันหลายตัว หากลดจำนวนเครื่องที่เดินให้สอดคล้องกับปริมาณลม จะทำให้พัดลมแต่ละเครื่องมีประสิทธิภาพต่ำลงไม่มาก)

– ควบคุม variable pitch ของ moving blade ของพัดลม axial flow (สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงในการช่วงปริมาณลมกว้าง)

– ควบคุมความเร็วรอบ

วิธีตรวจวิเคราะห์เพื่ออนุรักษ์พลังงาน

(2.1) ตรวจสอบเส้นกราฟสมรรถนะ – กรณีที่เป็นพัดลมรุ่นเก่าให้สำรวจว่ามีพัดลมที่มีสมรรถนะสูงกว่าหรือไม่

(2.2) กรณีที่พัดลมมีความสามารถสูงเกินไป มีการหรี่แดมเปอร์หรือวาล์วในท่อหรือไม่

(2.3) ก่อนและหลังพัดลมมีท่อโค้งที่ทำให้มีความดันสูญเสียเพิ่มขึ้นหรือไม่

(2.4) ความเร็วลมในท่อมีค่าสูงเกินไปทำให้ความต้านทานของท่อมีค่าสูงหรือไม่

(2.5) มีอากาศรั่วออกมาจากท่อหรือ flange หรือไม่

(2.6) ไส้กรองอากาศอุดตัน มีฝุ่นละอองเกาะอยู่ในท่อลม ในตัวถัง และในใบพัดหรือไม่

(2.7) มีความสูญเปล่าหรือไม่ เช่น จ่ายลมในขณะที่ไม่จำเป็น เดินเครื่องขณะที่ปิดปากทางออกอยู่ เป็นต้น